วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม Google Earth


การใช้งานโปรแกรม Google Earth เบื้องต้น







ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon เพื่อเข้าสู้โปรแกรม

หลังจากที่เข้าสู่โปรแกรมหน้าจอของคุณก็จะเห็น ลูกโลก ซึ่งเราสามารถใช้ Mouseหมุนลูกโลกไปในทิศทางต่าง
เพื่อไปยัง ประเทศ ที่เราต้องการได้

1.
นำ Mouse เข้าไปที่ลูกโลก แล้ว Mouse จะกลายเป็นรูปมือ
2.
คลิกค้างไว้ แล้ว เลื่อน Mouse เพื่อหมุนโลก
แถบแจ้งสถานะ (Status )ของโปรแกรม Google Eath



Pointer จะเป็นการ ระบุตำแหน่งว่า Moise ของเราอยู่ที่ ตำแหน่งพิกัดที่เท่าไหร่ บนโลก ใช้เพื่ออ้างอิง กับตำแหน่งจริงๆ บนพื้นโลกได้(GPS)
Streaming
จะบอกว่าเรากำลัง โหลด รูปถ่ายจาก Internet อยู่ ซึ่งต้องรอจนกว่าจะ 100% เพื่อจะได้ เห็นภาพในตำแหน่งนั้นๆ ได้ชัดที่สุด

Eye alt
ระยะห่างจากพื้นโลกในมุมมองขณะนั้น

การใช้เครื่องมือในการดูแผนที่

 ใช้ในการ Zoom เข้าออก เพื่อดูรายละเอียดใน ระดับที่ต้องการ
โดย คลิกที่ + ไปเลื่อยๆ ภาพจะก็จะยิ่งขายใหญ่ ใกล้มากขึ้น และ ถ้าคลิกที่ ก็จะย่อขนาดให้เล็กลง


ใช้ในการเลื่อนมุมมองไปในทิศทางต่างๆ
 

 

ใช้เพื่อหมุนแผนที่ไปทิศทางซ้าย และ ขวา


ใช้เพื่อให้ แผนที่ หมุนกลับไปให้ ทิศ เหนืออยู่ด้านบนเหมือนเดิม

ใช้ปรับองศาในการมองแผนที่ ว่าจะมองจาก มุม กี่ องศา
ใช้ปรับองศาในการมองแผนที่ ให้กลับไป เป็นตามปกติ



ตัวอย่างการ การขยายเพื่อดูภาพโรงเรียน ปากเกร็ด จากความสูง 2025tt

การใช้ Search ในการค้นหาตำแหน่ง
นอกจากการหมุนโลกเพื่อหาตำแหน่งแล้ว เรายังสามารถให้ โปรแกรมวิ่งไปที่เมืองต่างๆ ตามที่เราต้องการค้นหาได้ โดยการ

1.
ใส่ ชื่อเมือง ที่ต้องการ ลงไปในช่อง Local Search2. กด Search ถ้าใส่ชื่อเมืองถูกต้อง โปรแกรมจะหมุนโลกไปใน ตำแหน่งนั้น โดยอัตโนมัติ



ตัวอย่างการใช้ Local Search เพื่อค้นหา เมือง New York
ด้วยการใส่ คำว่า New York แล้วกด Search

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กราฟีนวัสดุมหัศจรรย์


กราฟีนวัสดุมหัศจรรย์
    ใครจะเชื่อว่าการศึกษาแร่ธรรมดาๆ ที่ใช้ทำไส้ดินสอจะนำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่จนได้รับรางวัลโนเบล แร่ที่ว่านี้คือแกรไฟต์ หรือ กราไฟต์ (graphite) ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้ขีดเชียนกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนเป็นที่มาของชื้อ กราไฟต์ (graph = เขียน, graphite = เพื่อเขียน) แม้แต่ในภาษาไทยยังเรียกว่าแร่ดินสอดำ คาร์บอน ธาตุธรรมดาที่ไม่ธรรมดา แร่กราไฟต์เกิดจากธาตุคาร์บอนบริสุทธิเช่นเดียวกับเพชร เพียงแต่มีการจัดเรียงอะตอมที่แตกต่างกัน เพชรเกิดจากอะตอมคาร์บอนเรียงตัวเป็นผลึกทรงแปดหน้า (octahedron) ส่วนโครงสร้างของกราไฟต์มีลักษณะเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นเกิดจากอะตอมคาร์บอนเรียงตัวเป็นรูปหกเหลี่ยม (hexagon) ต่อเนื่องกันคล้ายรังผึ้ง การเรียงตัวที่ต่างกันนี้ส่งผลเพชรและกราไฟต์มีคุณสมบัติทางกายภาพแตกต่างกัน ทั้งความแข็ง ความใส รวมทั้งมูลค่า นอกจากนี้เมื่อปี 2528 มีการค้นพบบัคกี้บอล ซึ่งเป็นคาร์บอนที่มีการจัดเรียงอะตอมอีกรูปแบบหนึ่ง และมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเพชรและกราไฟต์อย่างมาก แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติต่างๆ ของคาร์บอนเปลี่ยนแปลงไปตามการจัดเรียงตัวของอะตอมได้อย่างน่าทึ่ง
 


บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อาจารย์และศิษย์ชาวรัสเซีย อังเดร ไกม์ (Andre Geim) และคอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) ผู้ศึกษาเกี่ยวกับกราไฟต์ งานวิจัยของ 2 ท่านนี้ มีแนวคิดที่แสนจะเรียบง่าย คือ พยายามทำให้กราไฟต์บางลงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า โครงสร้างของกราไฟต์มีลักษณะเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ ดังนั้นเป้าหมายของไกม์และโนโวเซลอฟจึงอยู่ที่การทำให้กราไฟต์ "บางลงจนเหลือเพียงชั้นเดียว" หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ "มีความหนาเท่ากับอะตอมเพียงอะตอมเดียว" นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเชื่อว่าการสร้างวัสดุให้มีความหนาเพียงอะตอมเดียวเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะคาดการณ์กันว่าอะตอมจะสั่นในแนวขึ้น-ลง ทำให้โครงสร้างของวัสดุไม่เสถียร จนอาจทำให้อะตอมทั้งหมดระเหยเป็นไอ แต่ในปี 2547 ไกม์และโนโวเซลอฟ ได้พิสูจน์ว่าความเชื่อนี้ผิด หลังจากสามารถสร้างกราไฟต์ที่มีความหนาเพียงอะตอมเดียวได้สำเร็จ และวัสดุนี้มีความเสถียรอย่างมาก เรียกวัสดุนี้ว่า "กราฟีน (graphene)" การค้นพบนี้ทำให้ไกม์และโนโวเซลอฟได้รางวัลโนเบลปีนี้ (2010) ไปครอง


       
                                                                              อังเดร ไกม์                                        คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ

 สำหรับกราไฟต์ที่โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชั้น แต่ละชั้นมีเพียงแรงอ่อนๆ จากแรงวันเดอร์วาลส์ยึดเหนี่ยวกันไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุว่าเมื่อเราใช้ดินสอขีดเขียนบนกระดาษจะทำให้กราไฟต์ถูกกระเทาะออกและไปติดอยู่บนกระดาษเป็นตัวหนังสือ ดังนั้นหากใช้แรงกดดินสอน้อยมากๆ อาจจะสามารถทำให้ชั้นกราไฟต์เพียงชั้นเดียวแยกออกจากแท่งกราไฟต์ได้
              ก่อนหน้าไกม์และโนโวเซลอฟจะสร้างกราฟีนได้สำเร็จ มีนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นพยายามใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผ่าลอกชั้นกราไฟต์แต่ละชั้นออกจากกันเพื่อให้บางที่สุดเช่นกัน โดยนำกราไฟต์ที่บดจนเป็นชิ้นเล็กๆ ไปติดที่ปลายเข็มของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แรงของอะตอม (atomic force microscopy, AFM) แล้วใช้ปลายเข็มนี้ลากไปบนแผ่นซิลิกอน เทียบได้กับการขีดเขียนด้วยดินสอนาโน (nanopencil) เครื่อง AFM ช่วยควบคุมแรงขีดให้น้อยที่สุด เพื่อให้ชั้นคาร์บอนหลุดออกมาเพียงชั้นเดียว แต่น่าเสียดายสิ่งที่ได้มายังไม่ใช่กราฟีน แต่เป็นกราไฟต์ที่เป็นแผ่นบางๆ เท่านั้น ชั้นกราไฟต์ที่ได้มีความหนามากกว่า 10 อะตอม เมื่อวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีสูงขนาดนี้ยังทำไม่ได้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อว่าวัสดุที่หนาเพียงอะตอมเดียวไม่มีอยู่จริง แต่ไกม์และโนโวเซลอฟเปลี่ยนความเชื่อนี้ด้วยวิธีการที่ง่ายอย่างเหลือเชื่อ

เป็นเลิศในหลายด้าน
             กราฟีนได้ตำแหน่งวัสดุที่บางที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย มีความหนาเพียงอะตอมเดียว แสงสามารถส่องผ่านได้ เป็นวัสดุชนิดแรกที่มีเพียง 2 มิติ (กว้าง x ยาว) อย่างแท้จริง นอกจากนี้การจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนอย่างเป็นระเบียบทำให้เป็นวัสดุที่แข็งที่สุดด้วย กราฟีนแข็งกว่าหล็กประมาณ 5 เท่า แต่แม้จะแข็ง (ฉีกขาดได้ยาก) แผ่นกราฟีนกลับสามารถบิดงอ ม้วน หรือพับ ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ทำให้โมเลกุลเสียหาย
             เนื่องจากการจัดเรียงที่เป็นระเบียบของอะตอมอีกเช่นกัน ที่ทำให้กราฟีนนำความร้อน และนำไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม เพราะในโครงสร้างของกราฟีนแทบจะไม่มีตำหนิเลย เมื่อกระแสอิเล็กตรอนไหลผ่านจึงไม่กระจัดกระจาย ความต้านทานไฟฟ้าจึงต่ำมาก แม้จะไม่ได้นำไฟฟ้าดีขนาดตัวนำยิ่งยวด  แต่จุดที่เหนือกว่าคือ กราฟีนนำไฟฟ้าได้ดีมากที่อุณหภูมิห้องซึ่งต่างจากตัวนำยิ่งยวดที่ต้องลดอุณหภูมิจนติดลบกว่าร้อยองศาเซียลเซียส



ทฤษฎีควอนตัมอธิบายว่าวัตถุที่มีขนาดเล็กระดับอนุภาคจะมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ ทางไฟฟ้า และพฤติกรรมที่แตกต่างจากวัตถุที่เราจับต้องได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ทองคำ เป็นต้น เมื่อเป็นทองคำแท่งหรือสร้อยทอง เราจะเห็นทองคำมีสีเหลืองทอง แต่เมื่อทำให้ทองมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนเป็นอนุภาค ทองที่มีขนาดระดับนาโนจะมีสีแดงสด ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติเชิงแสงของทองคำที่เป็นอนุภาคกับทองคำแท่งแตกต่างกันจึงดูดกลืนและสะท้อนแสงมาสู่ตาเราต่างกันซึ่งสามารถอธิบายด้วยทฤษฎีควอนตัม สำหรับกราฟีนที่มีความหนาเพียงอะตอมเดียว ในมิติของความหนาจึงมีคุณสมบัติตามทฤษฎีควอนตัม แต่ในมิติของความกว้างและยาวนั้นกราฟีนกลับมีคุณสมบัติตามฟิสิกส์แบบดั้งเดิม กราฟีนจึงเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมือนทั้งวัตถุธรรมดาและอนุภาคควอนตัมพร้อมๆ กัน

กราฟีนในอนาคต
             ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นศักยภาพของกราฟีนที่จะเข้ามาแทนซิลิกอนในเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ ในอนาคตชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ เช่น ชิปประมวลผล ซึ่งนับวันจะยิ่งถูกพัฒนาให้หน่วยทรานซิสเตอร์บนชิปมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนใกล้ถึงขีดจำกัดทางควอนตัมของสารกึ่งตัวนำที่ทำจากซิลิกอนแล้ว คุณสมบัติของกราฟีนที่กล่าวมาน่าจะสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของซิลิกอนได้ไม่ยากนัก กราฟีนเล็ก (บาง) กว่า แข็งแรงกว่า นำไฟฟ้าได้ดีกว่า หมายความว่าสามารถเป็นได้ทั้งวงจรอิเล็กโทรนิค เป็นเซ็นเชอร์ตรวจวัด เป็นโซลาร์เซลล์ หรือแม้แต่เป็นโครงสร้างของตัวอุปกรณ์เอง แทบจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่การนำกราฟีนไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าจะทำในเชิงพาณิชย์ล่ะก็ ยังมีข้อจำกัดที่ต้องแก้ให้ได้ก่อน
                 อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคล้ำสมัยที่สร้างจากกราฟีนในวันนี้ยังเป็นได้เพียงจินตนาการของมนุษย์ เพราะเรายังไม่สามารถผลิตกราฟีนให้ได้ขนาดที่ต้องการในปริมาณมากเท่าที่ต้องการ การใช้เทปใสกับกราไฟต์สร้างกราฟีนที่มีขนาดเล็กกว่าหน่วยมิลลิเมตร นับว่ายังห่างไกลจากการนำมาใช้จริงมากนัก โชคดีที่คุณสมบัติที่ดีเลิศของกราฟีนเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์มากมาย แต่ละกลุ่มพยายามพัฒนาวิธีการต่างๆ ขึ้น ไกม์และโนโวเซลอฟเองก็เช่นกันหลังจากใช้สก็อตเทปจนโด่งดังไปแล้ว ได้ลองเปลี่ยนมาใช้คลื่นอัลตราซาวน์ส่งไปที่แท่งกราไฟต์เพื่อการกระเทาะชั้นกราฟีนลงบนผิวหน้าของเหลว จากนั้นจึงทำให้แห้งเพื่อให้กราฟีนเคลือบไปบนผิวซิลิกอนที่อยู่ด้านล่าง นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งพยายามใช้สารเคมีละลายกราไฟต์เพื่อให้ชั้นกราฟีนหลุดออกมา แล้วจึงค่อยแยกสารละลายออก นอกจากนี้อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีแนวคิดที่ต่างออกไป แทนที่จะใช้วิธีการ "แยก" กราฟีนออกจากกราไฟต์ กลับใช้วิธี "ประกอบ" กราฟีนขึ้นมาจากอะตอมของคาร์บอน โดยพ่นไอของอะตอมของคาร์บอนไปยังพื้นผิวนิเกิล อาศัยนิเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชื่อมต่ออะตอมคาร์บอนให้เป็นกราฟีน อย่างไรก็ตามยังไม่มีวิธีใดที่ผลิตกราฟีนได้ปริมาณมากและคุ้มทุนพอที่จะขายในเชิงพาณิชย์
                   กราฟีนพึ่งค้นพบในปี 2547 เท่านั้น ถือเป็นหัวข้อที่ใหม่มากๆ การค้นพบบางอย่างใช้เวลาหลายสิบปีหรืออาจจะถึงร้อยปีกว่าจะออกดอกออกผล และนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นการคาดหวังว่าจะใช้ประโยชน์จากกราฟีนแบบทันท่วงทีออกจะเป็นความคาดหวังที่สูงไปสักหน่อย แต่หากมองความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกราฟีนจะเห็นว่าเทคโนโลยีนี้ก้าวหน้าไปเร็วมาก มีการค้นพบใหม่ๆ ปีละหลายๆ เรื่อง ซึ่งถือว่าก้าวหน้ามากสำหรับเทคโนโลยีที่พึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปี จึงพอมีความหวังว่าเทคโนโลยีล้ำสมัยจากกราฟีนอาจมีให้ใช้ได้ทั่วไปในระยะเวลาไม่นานนัก

อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/41610